พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ขอบคุณภาพจาก : www.siamlocalnews.com/
การ ลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่อาฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง
จาก นั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง”
พุทธศักราช 2454 (ค.ศ. 1911)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454
พุทธศักราช 2463 (ค.ศ. 1920)
ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอังกฤษ
พุทธศักราช 2465 (ค.ศ. 1922)
คณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลก
พุทธศักราช 2467 (ค.ศ. 1924)
ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก
พุทธศักราช 2470 (ค.ศ. 1927)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 1 (1st National Jamboree) ณ พระราชอุทยานสราญรมย์
26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2470 จำนวนลูกเสือไทยทั้งสิ้น 1,836
พุทธศักราช 2473
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 2 (2st National Jamboree) ณ พระราชอุทยานสราญรมย์
1-7 มกราคม 2473 จำนวนลูกเสือไทย 1,955 คน ลูกเสือต่างประเทศ 22 คน
พุทธศักราช 2478
กำเนิดตราประจำคณะลูกเสือแห่งชาติ
พุทธศักราช 2497
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 3 (3st National Jamboree) ณ กรีฑาสถานแห่งชาติพระนคร
20-26 พฤศจิกายน 2497 จำนวนลูกเสือไทย 5,155 คน
พุทธศักราช 2499 (ค.ศ. 1956)
เป็นสมาชิกของสำนักงานลูกเสือภาคตะวันออกไกล ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น ขณะนั้นมีประเทศสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ
พุทธศักราช 2504 (ค.ศ. 1961)
เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีลูกเสือไทย
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 4 ณ สวนลุมพินี พระนคร
19-25 พฤจิกายน 2504 จำนวนลูกเสือไทย 5,539 คน ลูกเสือต่างประเทศ 348 คน
พุทธศักราช 2505 (ค.ศ. 1962)
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือภาคพื้นตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout Conference) ณ ศาลาสันติธรรม
พุทธศักราช 2508 (ค.ศ. 1965)
จัดงานประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Scout Conference)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 5 (5st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
9-15 ธันวาคม 2508 จำนวนลูกเสือไทย 5,736 คน ลูกเสือต่างประเทศ 431 คน
พุทธศักราช 2512 (ค.ศ. 1969)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 6 (6st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
11-17 ธันวาคม 2512 จำนวนลูกเสือไทย 5,000 คน ลูกเสือต่างประเทศ 582 คน
พุทธศักราช 2514 (ค.ศ. 1971)
เฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีการลูกเสือไทย
ทดลองเปิดอบรมลูกเสือชาวบ้านครั้งแรก ณ บ้านเหล่ากอหก กิ่งอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 7 (7st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
28-30 มิถุนายน 2514 จำนวนลูกเสือไทย 1,667 ลูกเสือต่างประเทศไม่ได้เข้าร่วม
พุทธศักราช 2516 (ค.ศ. 1973)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 8 (8st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
23-30 พฤศจิกายน 2516 จำนวนลูกเสือไทย 4,968 คน ลูกเสือต่างประเทศ 256 คน
พุทธศักราช 2520 (ค.ศ. 1977)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 9 (9st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศจิกายน 2520 จำนวนลูกเสือไทย 10,827 คน ลูกเสือต่างประเทศ 159 คน
พุทธศักราช 2523 (ค.ศ. 1980)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 10 (10st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
28 ธ.ค. 2523 - 3 ม.ค. 2524 จำนวนลูกเสือไทย 12,692 คน ลูกเสือต่างประเทศ 108 คน
พุทธศักราช 2528 (ค.ศ. 1985)
เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 9
งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 11 (11st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศจิกายน 2528 จำนวนลูกเสือไทย 5,336 คน ลูกเสือต่างประเทศ 391 คน
พุทธศักราช 2529 (ค.ศ. 1986)
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 15
พุทธศักราช 2532 (ค.ศ. 1989)
งานชุมนุมลูกเสือครั้งที่ 12 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศิกายน 2532 จำนวนลูกเสือไทย 9,330 คน ลูกเสือต่างประเทศ 422 คน
พุทธศักราช 2534 (ค.ศ. 1991)
จัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง 80 ปีลูกเสือไทย
งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 13 (13st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
1-7 กรกฎาคม 2534 จำนวนลูกเสือไทย 10,022 คน ลูกเสือต่างประเทศ 357 คน
พุทธศักราช 2536 (ค.ศ. 1993)
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพ (33rd World Scout Conference)
งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 14 (14st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
22-28 พฤศจิกายน 2536 จำนวนลูกเสือไทย 10,263 คน ลูกเสือต่างประเทศ 357 คน
พุทธศักราช 2540 (ค.ศ. 1997)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 15 (15st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศิกายน 2540 จำนวนลูกเสือไทย 11,274 คน ลูกเสือต่างประเทศ 160 คน
พุทธศักราช 2544 (ค.ศ. 2001)
เฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปีลูกเสือไทย
เตรียมการ การจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ณ หาดยาว จ.ชลบุรี
28 ธ.ค. 2544 - 4 ม.ค. 2545
พุทธศักราช 2546 (ค.ศ. 2003)
เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (20th World Scout Jamboree)
พุทธศักราช 2548 (ค.ศ. 2005)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 17 (17st National Jamboree) ณ หาดยาว จ.ชลบุรี
25-31 กรกฎาคม 2548
เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 25 (25th Asia - Pacific Regional Scout Jamboree)
พุทธศักราช 2552 (ค.ศ. 2009)
จัดงานชุมนุมลุกเสือแห่งชาติครั้งที่ 18 ณ ค่ายลูกเสือไทยเฉลิมพระเกียรติ จ.ตรัง
25-30 เมษายน 2552
พุทธศักราช 2554 (ค.ศ. 2011)
เฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีการลูกเสือไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น