ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ (บี.พี.) เป็นผู้ก่อตั้งกิจการลูกเสือโลกขึ้นเป็นครั้งแรกและได้รับคัดเลือกเป็น ประมุขคณะลูกเสือโลก เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๓
หน้าที่ของหน่วยงานองค์การลูกเสือโลก
สมัชชาลูกเสือโลก
สมัชชาลูกเสือโลก คือ ที่ประชุมของผู้แทนคณะลูกเสือจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- รับสมาชิกใหม่ ซึ่งเป็นประเทศที่ยื่นใบสมัครด้วยความสมัครใจ ต้องยอมรับและปฏิบัติตามจุดมุ่งหมาย และหลักการลูกเสือโลกอย่างอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
- จัดการประชุมทุก ๓ ปี ในประเทศใดประเทศหนึ่งตามมติของที่ประชุม โดยให้ประเทศสมาชิกมีสิทธิ์ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม ประเทศละ ๖ คน
คณะกรรมการลูกเสือโลก
คณะ กรรมการลูกเสือโลก ประกอบด้วยบุคคลจากประเทศสมาชิก ๑๒ ประเทศ ประเทศละ ๑ คน และคณะกรรมการโดยตำแหน่งอีก ๒ คน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
- ส่งเสริมกิจการลูกเสือโลก
- แต่งตั้งเลขาธิการของสำนักงานลูกเสือโลก
- จัดหาเงินทุนไว้สำหรับส่งเสริมกิจการลูกเสือ
สำนักงานลูกเสือโลก
สำนัก งานลูกเสือโลก ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขาธิการ ปฏิบัติตามคำสั่งหรือมติของสมัชชาลูกเสือโลกและคณะกรรมการลูกเสือโลก มีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนักงาน ๑ คน และเจ้าหน้าที่อีกประมาณ ๔๐ คน เป็นผุ้ช่วย สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานประจำภูมิภาค มี ๖ เขต ดังนี้
- เขตอินเตอร์อเมริกา
- เขตอาหรับ
- เขตแอฟริกา
- เขตเอเชียแปซิฟิก
- เขตยุโรป
- เขตยูเรเซีย
ขอบคุณภาพจาก : clipart.usscouts.org
วิวัฒนาการลูกเสือไทย
วิวัฒนาการลูกเสือไทย อาจแบ่งออกเป็น ๕ ยุค ดังนี้
ยุคก่อตั้ง (พ.ศ.๒๔๕๔-๒๔๖๘)
๑) เริ่มมีลูกเสือกองแรกขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๔ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพัฒนาเยาวชนไทยให้ได้รับการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมือง โดยมีนายชัพน์ บุญนาค แต่งเครื่องแบบลูกเสือเป็นผู้กล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือต่อหน้าพระพักต์เป็น คนแรกและได้รับการยกย่องให้เป็นลูกเสือคนแรกของไทย
๒) มีการจัดส่งผู้แทนลูกเสือไทย จำนวน ๔ คน ประกอบด้วย นายสนั่น สมิตร นายส่ง เทพาสถิต นายศิริ หัพนานนท์ และนายศิริ แก้วโกเมน เป็นตัวแทนไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
๓) คณะลูกเสือไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก เป็นสมาชิกก่อตั้งอันดับแรกร่วมกับคณะลูกเสือจากประเทศอื่นๆ อีก ๓๑ ประเทศ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕
๔) มีการส่งตัวแทนลูกเสือไทย จำนวน ๑๐ คน ไปชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ ๒ ที่ประเทศเดนมาร์ก
ยุคส่งเสริม (พ.ศ.๒๔๖๘-๒๔๘๒)
๑) ระยะก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระยะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ยังทรงเป็นสภานายกสภากรรมการจัดการลูกเสือแห่งชาติ กิจกรรมของลูกเสือไทยที่สำคัญ มีดังนี้
- จัดชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ กรุงเทพฯ และครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓ ที่จังหวัดเพชรบุรี
- จัดส่งผู้แทนลูกเสือไทยไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ ๓ ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ.๒๔๗๒
๒) ระยะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นช่วงคาบเกี่ยวสัมยรัชการที่ ๗ ก่อนสละราชสมบัติ กับสมัยรัชการที่ ๘ ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีกิจการที่แสดงถึงความก้าวหน้าของลูกเสือไทย ดังนี้
- ได้จัดและรวบรวมกิจการลูกเสือไทยให้เป็นระบบมากขึ้น โดยมีการจัดตั้งกรมพลศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการลูกเสือไทยโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖
- ได้จัดส่งตัวแทนลูกเสือไทยไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ ๔ ที่ประเทศฮังการี ในปี พ.ศ.๒๔๗๖
- ได้รับประกาศใช้ตราประจำคณะลูกเสือแห่งชาติ และกฎลูกเสือ ๑๐ ข้อ
- ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติธง ซึ่งกำหนดลักษณะธงประจำกองคณะลูกเสือแห่งชาติ และธงประจำกองลูกเสือ ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ และประกาศใช้หลักสูตรลูกเสือเสนา และลูกเสือสมุทรเสนาในปีเดียวกัน
- ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.๒๔๘๒ ให้คณะลูกเสือแห่งชาติมีสภาพเป็นนิติบุคคล จัดตั้งสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ จังหวัดลูกเสือ อำเภอลูกเสือ แบ่งลูกเสือออกเป็น ๒ เหล่า คือ ลูกเสือเสนา และลูกเสือสมุทรเสนา
ยุคประคับประคอง (พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๘)
เป็นช่วงปลายรัชกาลที่ ๘ บ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะสงคราม ส่งผลให้การลูกเสือโลกซบเซา กิจกรรมต่างๆ ของลูกเสือไทยก็งดไปด้วย
ยุคก้าวหน้า (พ.ศ.๒๔๘๙-๒๕๑๔)
เริ่ม ต้นสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ซึ่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้สิ้นสุดลง ทำให้การลูกเสือทั่วโลกเริ่มมีการฟื้นตัว สำหรับกิจการลูกเสือไทยจะแบ่งออกเป็น ๒ ระยะ คือ
๑) ระยะเริ่มก้าวหน้า (พ.ศ.๒๔๘๙-๒๕๐๓) มีการดำเนินงานที่สำคัญเกี่ยวกับกิจการลูกเสือไทย ดังนี้
- ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ ได้ดำเนินการสร้างค่ายลูกเสือวชิราวุธ ที่ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้ส่งตัวแทนลูกเสือไทยไปร่วมเฉลิมฉลองอายุครบ ๑๐๐ ปี ของ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ในการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ ๙ ที่ประเทศอังกฤษ
- ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ มีการจัดตั้งกองลูกเสือสำรองกองแรกขึ้นในประเทศไทย
๒) ระยะก้าวหน้า (พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๑๔) เป็นระยะที่กิจการลูกเสือไทยขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง กิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญ มีดังนี้
- มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นองค์ประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ
- มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๔-๖ ซึ่งการชุมนุมครั้งที่ ๔ จัดขั้น ณ สวนลุมพินี พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่คณะลูกเสือไทยมีอายุครบ ๕๐ ปี การชุมนุมครั้งที่ ๕ จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ และการชุมนุมครั้งที่ ๖ จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ซึ่งการชุมนุมครั้งที่ ๒ จัดที่ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี
- ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ กิลเวลล์ปาร์ค ถวายเครื่องหมายวูดแบดจ์กิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ยุคประชาชน (พ.ศ.๒๕๑๔-ปัจจุบัน)
เป็น ยุคที่การลูกเสือไทยได้ขยายตัวไปอีกก้าวหนึ่ง โดยได้พัฒนาการลูกเสือลงไปสู่ระดับชาวบ้าน เกิดโครงการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งได้จัดอบรมครั้งแระขึ้นที่บ้านเหล่ากอหอ ตำบลแสงเผา กิ่งอำเภอแห้ว จังหวัดเลย และได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี นับจากนั้นมา กิจการลูกเสือชาวบ้านก็ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ สำหรับเหตุการณ์สำคัญต่างๆ มีดังนี้
- ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ กิจการลูกเสือชาวบ้านได้รับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการก็มีนโยบายให้นำวิชาลูกเสือเข้ามาอยู่ในหลัก สูตรการศึกษาด้วย
- ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ มีงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ เพื่อเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ ครบ ๑๐๐ ปี ของพระราชบิดาการลูกเสือไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.trueplookpanya.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น